พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่6)
ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ทรงศึกษาภาษาไทยอย่างแตกฉาน แล้วจึงเสด็จไปศึกษาวิชาทหาร ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2436 ขณะทรงมีพระชนม์พรรษาเพียง 14ปี ต่อมาทรงเข้าศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และภูมิศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด(Oxford) เสด็จนิวัติคืนสู่ประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2445 รวมเวลาประทับ ณ ประเทศอังกฤษถึง 9 ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จครองราชย์เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 สวรรคต เมื่อวันที่ 25พฤศจิกายน พ.ศ.2468รวมสิริราชสมบัติ 16ปี
พระราชกรณียกิจสำคัญ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินนโยบายการปกครองสืบต่อจาก สมเด็จพระบรมชนกนาถ ในรัชสมัยของพระองค์ การศึกษาของชาติเจริญก้าวหน้ามาก ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยการพระศาสนาเจริญสูงขึ้น ทรงทำนุบำรุงปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม และขยายการศึกษาของสงฆ์ให้กว้างขวางการคมนาคม เช่น การรถไฟ สะดวกสบายขึ้นมาก
ทรงดำเนินนโยบายต่างประเทศได้ อย่างถูกต้อง เห็นการณ์ไกล โดยทรงนำประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ส่งทหารเข้าช่วยฝ่ายสัมพันธ มิตรรบในสมรภูมิยุโรป ทำให้นานาชาติรู้จักประเทศไทยมากขึ้น และยังทำให้ประเทศได้รับผลประโยชน์ ด้านต่างๆ ในฐานะประเทศชนะสงคราม พระราชกรณียกิจที่สำคัญยิ่งก็คือ ทรงบำรุงกำลังรบและปลุกใจ พลเมืองให้รักชาติ ทรงวางระเบียบแบบแผนการทหารแบบยุโรป ทรงจัดตั้งกองทัพอากาศเพิ่มขึ้นอีก กองทัพหนึ่ง ทรงจัดตั้งกองเสือป่าและกองลูกเสือเพื่อปลุกใจพลเมืองให้รักชาติ
นอกจากจะทรงเป็นนักการปกครองที่เล็งเห็นการณ์ไกลแล้ว ยังทรงพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งในเชิงอักษรศาสตร์ ดังจะเห็นได้ จากพระราชนิพนธ์คำประพันธ์ทุกชนิดในทุกด้าน เช่น ปลุกใจเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร โคลงสยามานุสติ เป็นต้น รวมเป็นพระราชนิพนธ์เกินกว่า 200เรื่อง สมดังที่มหาชนชาวไทยถวายพระนามว่า “พระมหาธีรราชเจ้า”
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบว่าราษฎรเบื่อหน่ายการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็โปรดให้สร้างบ้านเมืองจำลองขึ้นเรียกว่า “ดุสิตธานี” เพื่อเป็นโรงเรียนสอน เสนาบดีและอำมาตย์ราชบริพารให้รู้จักการปกครองแบบประชาธิปไตย ทรงโปรดให้กระทรวงมหาดไทย เตรียมร่างกฎหมายปกครองท้องที่จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อเริ่มการปกครองส่วนท้องถิ่นแบบเทศบาลอย่าง แท้จริง แต่เสนาบดีบางท่านเห็นว่ากฎหมายนี้ให้สิทธิแก่ราษฎรกว้างขวางเกินไป เรื่องจึงค้างพิจารณา จน กระทั่งเสด็จสวรรคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น