วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ในหลวงกับศิลปะ

พระราชกรณียกิจด้านศิลปวัฒนธรรม

ในด้านจิตรกรรม ทรงสนพระราชหฤทัยในการเขียนภาพ โดยทรงฝึกเขียนด้วยพระองค์เอง ทรงศึกษาวิธีการเขียนภาพจากหนังสือตำรา เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ได้ทรงเริ่มเขียนภาพ ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๐๒ - ๒๕๑๐ มีผลงานจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ ๑๐๗ ภาพ ทรงใช้พระนามย่อในแต่ละภาพว่าภ.อ.




ในด้านประติมากรรม
ทรงสนพระราชฤทัย และทรงงานศิลปะฝีพระหัตถ์ด้านประติมากรรม โดยมีนายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ศิลปินแห่งชาติด้านประติมากรรม เป็นที่ปรึกษาและถวายงาน ทรงปั้นพระรูปสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ พระพุทธนวราชบพิตร
พระพิมพ์ส่วนพระองค์ และรูปปั้นผู้หญิงนั่งคุกเข่า

ในด้านการถ่ายภาพ

รงสนพระราชหฤทัยมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงถ่ายภาพรามเกียรติที่ระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงบันทึกภาพเหตุการณ์ สถานที่ บุคคลในทุกแห่งที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎร และโครงการในพระราชดาริ ทรงใช้ภาพถ่ายประกอบการพิจารณาโครงการเพื่อพัฒนา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานภาพถ่ายฝีพระหัตถ์แก่หน่วยราชการ และองค์กรที่ประสงค์จะนำไปตีพิมพ์ในหนังสือที่เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจในโครงการเพื่อการพันนาต่างๆ



ศิลปะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดมากเป็นพิเศษ คือ ด้านดนตรี ขณะที่ทรงศึกษาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงศึกษาวิชาดนตรีจากการอ่านหนังสือ และต่อมาทรงมีพระอาจารย์ถวายคำแนะนำ ทรงฝึกเครื่องดนตรีหลายประเภท แต่ที่โปรดมาก คือ เครื่องดนตรีประเภทเป่า เช่น แซกโซโฟน แคลริเน็ต ทรัมเป็ต และโปรดดนตรีแจ๊ส ดิกซีเเลนด์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง

และเนื้อร้องเพลงบางเพลงเป็นภาษาอังกฤษ เพลงพระราชนิพนธ์ระหว่างพุทธศักราช ๒๔๘๙ - ๒๕๓๘ มี ๔๗

เพลง

ในด้านงานช่าง ซึ่งเป็นทั้งศิลปหัตถกรรม และเทคโนโลยี ได้แก่ การสร้างหุ่นจำลองเรือรบเรือใบ และประดิษฐ์ของเล่นเมื่อยังทรงพระเยาว์เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๗ ทรงสนพระราชหฤทัยในกีฬาเรือใบ ทรงต่อเรือใบพระที่นั่งด้วยพระองค์เองหลายประเภท ทรงใช้เรือใบที่ทรงสร้างเองในการแข่งกีฬาเรือใบประเภทโอเค ทรงสนพระราชหฤทัยโนการวิทยุสื่อสาร และทรงทดลองการขยายคลื่นสัญญาณให้ส่งทางไกลได้ ทรงซ่อมแซมปรับแก้เครื่องรับ ส่งวิทยุ ได้เป็นอย่างดี เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๖ ได้ทรงประดิษฐ์ เครื่องกลเติมอากาศ กังหันน้ำชัยพัฒนา เพื่อบำบัดน้ำเสียโดยการเติมอากาศผิวน้ำ


ทางด้านวรรณศิลป์ ทรงสนพระราชหฤทัยทางด้านภาษาทั้งโนแง่ที่เป็นศิลปะ และทักษะเพื่อการสื่อสาร ได้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเรื่องพระมหาชนก ทรงแปลหนังสือและบทความภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ยังได้พระราชทานแนวพระราชดำริเรื่องการใช้ภาษาไทย และการบัญญัติศัพท์พระบรมราโชวาท และพระราชดำรัสในโอกาสต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในหลายโอกาสได้ทรงพระราชนิพนธ์ด้วยพระองค์เอง


เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๙ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญาว่า ทรงเป็น อัครศิลปิน ของปวงชนชาวไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น